องค์ประกอบของบล็อก


ต่อไป เราจะเข้าลงลึกลงไปในการเขียนบล็อกให้มากขึ้นอีก ข้อให้ดูภาพองค์ประกอบของบล็อกด้านบน กับบล็อกที่ท่านผู้อ่านกำลังอ่านอยู่นี้ ประกอบไปด้วย

ส่วนที่อยู่บนสุด ทั้งซ้ายและขวา คือ Favicon กับ แถบนำทาง ไม่ต้องไปให้ความสนใจอะไรกับมันเลย  ผมก็ไม่เคยยุ่งกับ Gadget ทั้ง 2 ประเภทนี้เลย

ถัดลงมาที่ผมระบายสีปูนแห้งไว้นั้นคือ ส่วนที่เป็นชื่อของบล็อกที่เป็นภาษาไทย บล็อกที่ชื่อ “เขียนบล็อกกันเถอะ” ชื่อมาก็ปรากฏอยู่ส่วนนี้ จะมีวงเล็บว่า “ส่วนหัว” ไว้ด้วย

เมื่อดูในหน้าบล็อกจริงๆนั้น มีรูปผมใส่แว่น แล้วก็มี “ข้อความ ดร. มนัส โกมลฑา เพื่อเผยแพร่งานวิชาการด้านภาษาและปรัชญาสู่สังคมไทย” บรรทัดถัดลงมาคือ ชื่อบล็อก

ตรงนี้ ผมทำขึ้นมาเองคือทำเป็นรูปภาพขึ้นมา  ถ้าไม่มีภาพนี้ ตรงส่วนหัวนี้ก็จะมีข้อความชื่อของบล็อกที่ว่า “เขียนบล็อกกันเถอะ” ปรากฏอยู่

แต่มันไม่สวย และตากฎกติกาของบล็อกนั้น เราสามารถทำภาพให้เป็นส่วนหัวนี้ได้  ผมก็เลยทำขึ้นมา การทำไม่ยาก ทำด้วย Microsoft Word ก็ได้  จะอธิบายเมื่อถึงขึ้นตอนนั้น  ส่วนตัวของผมเอง ผมทำด้วยโปรแกรม InDesign

ถัดลงมาที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เส้นรอบวงประ แล้วก็มีข้อความว่า “เพิ่ม Gadget” นั้น ขอให้สนใจให้มาก เพราะ องค์ประกอบของบล็อกที่สำคัญก็คือ Gadget ทั้งหลายนั้นเอง

Gadget ที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเส้นประนี้ มีไว้เพื่อเพิ่ม Gadget เอาไปในหน้าบล็อก ส่วนนี้จะไม่ปรากฏออกมา

ต่อมาคือ ที่ผมทำแถบสีม่วงไว้ นี่คือส่วนของหน้าเว็บ  ส่วนที่ท่านอ่านอยู่มีอยู่ 2 แถบคือ หน้าแรก กับ บล็อกที่ผมเขียน

หน้าเว็บนี้ มีหลายหน้าได้ คือ มีหลายแถบได้ ข้อมูลจะเรียงอยู่ด้านบน  ผมเอาไว้ใส่ตารางของบล็อกทั้งหมดที่ผมมีไว้ตรงนี้  ใครอยากจะอ่านบล็อกอื่นๆ ก็ไปคลิกที่นั่น

แล้วก็ไปคลิกที่ชื่อของบล็อก ก็จะมีลิงก์พาท่านผู้อ่านไปอ่านบล็อกอื่นๆ ที่ผมเขียนไว้

ส่วนในแถบสีเหลืองจำนวน 4 แถบนั้น คือ การโฆษณาของ AdSense  กับ Amazon คนที่ทำบล็อกใหม่ๆ จะไม่มีแถบโฆษณานี้  แถบโฆษณาเหล่านี้ สามารถสร้างรายได้ให้กับเราได้ 

ที่เป็นแถบสีเขียวทำมาจาก Gadget รายชื่อลิงก์  ก็คือส่วนที่เป็น Home Page, บทความบล็อกนี้ และ บล็อกที่ควรอ่าน

Gadget รายชื่อลิงก์  มีหน้าที่ลิงก์ให้ไปอ่านที่ที่ทำบล็อกไว้  ขอให้ลองคลิกดู  ตรง “บทความบล็อกนี้” ปกติของบล็อกแล้ว เมื่อเราเขียนบล็อก 1 บทความ ชื่อของบทความก็จะมีอยู่ตรงนี้ เรียงตามลำดับเวลา

ผมไม่ต้องการให้บทความของบล็อกเรียงตามลำดับเวลา แต่ต้องการให้เรียงตามที่ผมชอบ ผมก็เลยใช้ Gadget รายชื่อลิงก์ มาแทน

ต่อไปก็คือ ส่วนสำคัญคือ สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่อยู่ตรงกลาง ส่วนนี้คือ ส่วนของเนื้อหาของบทความที่จะนำไปลง

ความยาวของเนื้อหานั้น ไม่จำกัดแต่อย่าลืมว่า นิสัยของคนไทยนั้น ยาวมาก พี่ท่านก็จะไม่อ่าน ดังนั้น ผมว่ามือใหม่ๆ ไม่ควรเขียนเกิน 3 หน้า

ในการทำต้นฉบับ ก็ข้อให้ทำอย่างที่ผมกำลังทำอยู่นี้ คือ พิมพ์โดย Microsoft Word อย่างที่ผมทำอยู่คือ เป็นย่อหน้าสั้นๆ ไม่เกิน 3 บรรทัด เมื่อเสร็จ 1 ย่อหน้าแล้ว ให้เว้น 1 บรรทัด


เมื่อเราจะนำบทความนี้ไปลงในบล็อก ก็ Copy แล้วไปวางลงเลย  สะดวกสบายมาก

ส่วนท้ายสุดของหน้าคือ การแสดงที่มา ก็ไม่ต้องไปสนใจ ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวด้วย

ขอแนะนำอีกว่า 

ในการเขียนบล็อกนั้น เราต้องมีต้นทุนในการเขียนมากพอสมควร  คือไม่ใช่ว่า มีเนื้อหาอยู่เพียง 5 บทความ แล้วก็มาเขียนบล็อกได้แค่นั้น  ไม่สามารถเขียนต่อได้อีก

อย่างนี้ ไม่สมควรที่จะมาเขียนบล็อก หาอ่านเพื่อแสวงหาความรู้ก็พอแล้ว

เพราะบล็อกนั้น ต้องมีการเคลื่อนไหวปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าเขียนไป 1 บทความ แล้วก็ไม่ยุ่งเกี่ยวอะไรกับบล็อกอีกเลยเป็นเวลา 6 เดือน แล้วจึงมาเขียนใหม่อีก 1 บทความ

เพราะถ้าทำอย่างนั้น  ตัว Search ของ Google มันจะไม่เข้ามาหาบล็อกของเรา  บล็อกที่ Active คือ มีการเคลื่อนไหวปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น ที่ Search ของ Google จะหาเราพบ

ผมเคยเขียนบล็อกชื่อ “การตั้งค่าหน้ากระดาษ” มานานแล้ว ลงค้นใน Google ดูซิว่า จะอยู่ตรงไหนอันดับที่เท่าไหร่ของการค้นหา


จะเห็นว่า บล็อกของผมเองที่ขึ้นอับดับหนึ่ง  นี่แหละสุดยอดของการเขียนบล็อก 

ถ้าเราเขียนบล็อกไปแล้ว บล็อกที่เราเขียนยังไม่ขึ้นอยู่ภายใน 3 หน้า คือ ภายใน 30 อันดับ ยังถือว่า “ใช้ไม่ได้


อย่างไรก็ดี ไม่ต้องตกใจเพราะ เรามีวิธีที่จะทำให้บล็อกของเราติดอันดับต้นๆ ของการค้นหาได้ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น