แล้วจะเขียนอะไร

นี่คือ คำถามที่โคตรสำคัญที่สุดเลยคือ  แล้วจะเขียนอะไร

ในมหาวิทยาลัยของผมนี่ หมายถึง มหาวิทยาลัยที่ผมทำมาหากินอยู่ ผมไม่ได้สร้างมหาวิทยาลัยของผมเอง มีโครงการอบรมการเขียนเว็บ เขียนบล็อก ฯลฯ มากมายมหาศาล

ผมไม่เคยเข้าอบรมกับเขาหรอก ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งหลายนี่ ผมอ่านเอง และหาความรู้ด้วยตนเองทั้งนั้น  และเคยไปเป็นวิทยากรอบรมคนอื่นด้วย

เคยมีอาจารย์รุ่นน้อง เข้าอบรมแล้วก็มาปรึกษาผม ผมถามว่า “เขาอบรมเรื่องการเขียนเนื้อหาหรือเปล่า”  คำตอบก็คือ “ไม่”  ผมฟันธงไปเลยว่า “โครงการนี้ล้มเหลว

แล้วผมทายถูกอีกแล้วครับท่าน  เพราะ ปัญหาสำคัญเลยก็คือ เราจะเขียนอะไรในบล็อกของเรา

เว็บไซต์ บล็อก ฯลฯ นั้น พอเราทำเป็นแล้ว มันก็จบแล้ว คือ เราสามารถเขียนเป็นร้อยเว็บ พันเว็บ ร้อยบล็อก พันบล็อกได้แล้ว  แต่เนื้อหานี่สิ เราจะเอามาจากไหน

เรื่องเนื้อหาของบล็อกนี่ พวกที่ต้องการทำมาหากินกับบล็อก ถึงกับต้องจ้างคนอื่นเขียน แล้วก็มีคนมีอาชีพในการเขียนบทความของบล็อกด้วย

เราทำแบบมือสมัครเล่น ก็คงไม่ต้องถึงขนาดนั้น

ถ้ามีคนถามว่า “ผมไม่มีความรู้ที่จะเขียนออกมา”  คำตอบก็คือ “ก็อย่ามาเขียนบล็อก” ไปหาเรื่องอื่นๆ ทำเถอะ 

แต่ผมขอยืนยันว่า ทุกคนมีความรู้ มีศักยภาพที่จะเขียนบล็อกได้  นี่หมายถึง คนที่เข้ามาอ่านบล็อกของผมนะ  ไม่ได้หมายความรวมถึง คนบ้า คนปัญญาอ่อน หรือคนเมา ฯลฯ ด้วย

ขอยกตัวอย่างที่เป็นงานวิชาการก่อน เอามาจากวิกิพิเดีย


ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)

ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เว็บไซต์ Blog ฯลฯ

ส่วนความรู้ฝังลึก คือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้

ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้ฝังลึกอยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน

จากข้อความข้างบน คนเราทุกคนมีความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) อยู่ในตัวเองทั้งนั้น ปัญหาก็คือ จะขุดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ออกมาเขียนเป็น ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ได้หรือเปล่าเท่านั้น

ขอยกตัวอย่างจากตัวผมเอง

ก่อนอื่นขอให้ไปคลิกในแถบ “บล็อกที่ผมเขียน” ในบล็อกนี้ดูก่อน  เพราะ ที่นั่นเป็นรวบรวบงานเขียนบล็อกทั้งหมดไว้  บล็อกที่ผมเขียนไปแล้วประมาณ 180 บล็อก นับเป็นบทความก็น่าจะถึง 1,500 บทความ

ตรงนี้ขอบอกก่อนว่า ในบล็อก 1 บล็อกนั้น เราจะมีกี่บทความก็ได้ แต่ปกติแล้ว ใน 1 บล็อกมีคนแนะนำว่า ไม่ควรเขียนเกิน 5 บทความ

แต่อย่างไรก็ดี  บล็อกของผมนั้น บางทีก็มี 4 บทความ เพราะ มันไม่รู้จะเขียนอะไรอีก แต่บางทีก็มี 30 บทความ เพราะมันมีเรื่องที่จะเขียนมาก

บล็อกที่ผมเขียนนั้น สามารถจัดกลุ่มได้ ดังนี้

กลุ่มที่ 1
  • หนังสือหลวงพ่อวัดปากน้ำ
  • หนังสือคุณลุงการุณย์
  • ผมสอนวิชาธรรมกาย
  • วิชาธรรมกาย
  • จักรพรรดิ พระทรงเครื่อง
  • ความเลวของธัมมชโย
  • โจมตีวิชาธรรมกาย
  • สติปัฏฐาน 4
  • ความไม่รู้ของนักปริยัติ
  • ปรัชญากับศาสนา
  • วิทยาศาสตร์กับศาสนา


กลุ่มนี้เป็นกลุ่มสำคัญที่สุด สาเหตุก็เกิดจากผมไปอ่านเจอหนังสือของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ว่า “ต้องการเป็นทนายแก้ต่างให้กับพระศาสนา”  ผมก็เลยตั้งคำอธิษฐานตามหลวงพ่อวัดปากน้ำ

และผมก็ทำอย่างจริงๆ จังๆ คือ เป็นวิทยากรสอนปฏิบัติธรรมด้วย แล้วก็มาเขียนบล็อกด้วย  ตอนนี้ชีวิตผมไม่ได้ทำอะไรอื่นเลย  ทำอยู่แค่นี้

งานเขียนส่วนใหญ่ก็เป็นการเผยแพร่วิชาธรรมกาย แก้ต่างให้วิชาธรรมกาย  เนื้อหาที่เน้นมากก็คือ มีใครโจมตีวิชาธรรมกายไว้อย่างไรบ้าง  เราก็เอาข้อเขียนนั้นมาโต้แย้ง

มีคนพยายามทำอย่างผมนี่หลายคน แต่ไม่ค่อยได้ผล เพราะ คนเหล่านั้นขาดความรู้เกี่ยวกับปรัชญา ขาดความรู้เกี่ยวกับตรรกวิทยา  ขาดความรู้เกี่ยวกับภาษาศาสตร์  บังเอิญผมมีครบ

ที่ว่าบังเอิญนั้น เป็นสำนวนภาษา ในความเป็นจริงต้องเป็นอย่างนี้  ผมถูกส่งมาเกิดเพื่อทำงานนี้ ว่าอย่างนั้นเถอะ

กลุ่มที่ 2
  • คำทำนาย
  • เหลือบศาสนา
  • พระเลวในเมืองไทย
  • พระน่าสงสัย


เมื่องานเขียนในกลุ่มแรกมีแฟนคลับมากขึ้น บรรดาแฟนคลับก็ขอร้องให้ไปตรวจสอบคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง  เช่น เด็กชายปลาบู่  สมีเณรคำ เป็นต้น  จึงให้เกิดงานเขียนในกลุ่มนี้

กลุ่มที่ 3
  • ปกิณกะ
  • วิชาการ
  • ภาษาไทย ก.พ.
  • ความสามารถทั่วไป กพ.


งานเขียนบล็อกทั้ง 2 กลุ่มข้างต้นนั้น  บางมีมันก็หมดไฟ คือ เบื่อบ้าง ฯลฯ  ในฐานะที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย จึงมีงานในกลุ่มนี้ขึ้นมา

ดังนั้น ความรู้ที่จะเขียนนั้น คนที่อ่านบล็อกของผมมีทุกคน ทำอย่างไรที่จะ “กลั่น” ออกมาเขียนได้เท่านั้น

และผมขอยืนยันว่า การเขียนบล็อกนั้นไม่ยาก  อย่างที่ผมเขียนอยู่นี้ นึกอย่างไรก็เขียนไปเลย ไม่ต้องกลัวผิด เพราะ เดี๋ยวเรามาอ่านใหม่ เมื่อผิดเราก็แก้ไข ก็เท่านั้น

ข้อให้มีความกล้าที่จะเขียนเท่านั้น

สำหรับสำนวนภาษานั้น  ไม่ต้องห่วงเพราะ เมื่อเราเขียนบ่อยขึ้น สำนวนภาษาของเราจะดีขึ้นเอง ผมเห็นมามากแล้ว จากบรรดาแฟนคลับของผมนี่แหละ

ประการสำคัญที่สุดในการเขียนบล็อกก็คือ  เราต้องมีความคิดเป็นของตัวเราเอง  ถ้าไม่มีความคิดเป็นของตัวเราเอง อ่านของใครก็เชื่อไปหมด ไม่โต้แย้ง ไม่คิด แล้วเราจะเขียนอะไรออกมาได้

ประการสำคัญรองลงมาก็คือ “อ่าน”  ครับ  เราต้องอ่านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

ผมโชคดีที่อ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า ยกเว้นหนังสือเรียน อ่านมาโดยตลอด ว่างเมื่อไหร่ก็ต้องหาอะไรมาอ่าน  ถ้าไม่อ่าน ก็เขียนไม่ได้ 


คำว่า “อ่าน” ณ ที่นี้หมายถึง “ฟัง” ด้วย  หมายถึงว่า ฟังในสิ่งที่เป็นสาระความรู้ ไม่ใช่ฟังเพลง 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น